การตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจบนอุปกรณ์สวมใส่ HUAWEI ของฉันไม่ถูกต้อง

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้: HUAWEI Band,HUAWEI Talkband,HUAWEI Watch
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้:
ผลลัพธ์ที่คุณค้นหา โปรดเลือก
ไม่พบผลลัพธ์ที่คุณค้นหา โปรดเลือกอีกครั้ง
zoom in pic
การตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจบนอุปกรณ์สวมใส่ HUAWEI ของฉันไม่ถูกต้อง

ฟีเจอร์นี้ไม่ได้มีไว้สำหรับผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

1. วิธีที่อุปกรณ์สวมใส่วัดอัตราการเต้นของหัวใจของคุณ

2. การวัดไม่แม่นยำในระหว่างการใช้งานประจําวัน

3. การวัดไม่แม่นยําในระหว่างการออกกําลังกาย

4. การวัดไม่แม่นยำเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ทางการแพทย์

วิธีที่อุปกรณ์สวมใส่วัดอัตราการเต้นของหัวใจของคุณ

วัดอัตราการเต้นของหัวใจด้วยเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจแบบออปติคัลที่ด้านหลังของอุปกรณ์สวมใส่ ซึ่งจะวัดการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของเลือดในข้อมือของคุณโดยปล่อยแสงบนผิวหนังของคุณ และรับปริมาณแสงที่สะท้อนกลับ

การวัดไม่แม่นยำในระหว่างการใช้งานประจําวัน

  1. สวมนาฬิกา/สายรัดข้อมือของคุณให้ถูกต้อง

    1. สวมอุปกรณ์โดยหงายหน้าจอขึ้น
    2. สวมอุปกรณ์ให้อยู่เหนือและห่างจากกระดูกข้อมือหนึ่งนิ้วมือ
    3. อย่าสวมอุปกรณ์ให้แน่นหรือหลวมจนเกินไป เพื่อให้มีความกระชับสบาย และแน่ใจว่าเซ็นเซอร์ทํางานตามปกติ หากผิวหนังบริเวณใต้อุปกรณ์เคลื่อนที่เมื่อคุณขยับอุปกรณ์ แสดงว่ามีความแน่นพอดี
    4. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมือของคุณไม่สั่นในระหว่างการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ มิฉะนั้น การรับสัญญาณแบบออปติคัลจากเซ็นเซอร์จะได้รับผลกระทบ ส่งผลให้การวัดอัตราการเต้นของหัวใจไม่แม่นยํา
    5. หากคุณสนใจสมรรถภาพทางกายและออกกําลังกายเป็นประจํา ขอแนะนําให้คุณใช้สายรัดยางนิ่ม (ฟลูออโรอีลาสโตเมอร์ ซิลิโคน หรือ TPU) วิธีนี้จะช่วยให้ได้สัมผัสที่เหมาะที่สุดระหว่างอุปกรณ์สวมใส่กับข้อมือของคุณ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อใช้เซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจแบบออปติคัล
  2. เปิดใช้งาน การตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจอย่างต่อเนื่อง

    เพื่อให้ข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจมีความแม่นยําที่สุด ให้ไปที่ การติดตามสุขภาพ ในแอป Huawei Health เปิดใช้งาน การตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจอย่างต่อเนื่อง และเปิดใช้งานโหมด เรียลไทม์ (หากอุปกรณ์สวมใส่ของคุณไม่รองรับการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจอย่างต่อเนื่องในโหมดเรียลไทม์ อุปกรณ์จะวัดอัตราการเต้นของหัวใจเป็นระยะ ๆ ตามกิจกรรมของคุณ)

  3. สภาพร่างกาย

    เซ็นเซอร์อาจไม่สามารถรับแสงสะท้อนได้หากระดับความแข็งแรงของร่างกายของคุณต่ำ หรือคุณมีปัญหาหัวใจเต้นช้า หลอดเลือดอุดตัน หรือโรคหัวใจ ส่งผลให้การแสดงผลข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจอาจผิดปกติหรืออาจตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้ไม่ถูกต้อง ขอแนะนำให้คุณรัดสายรัดหรือใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ

    ข้อมูลและผลลัพธ์การตรวจวัดจากนาฬิกา/สายรัดข้อมือทั้งหมดของคุณมีไว้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น และไม่ควรใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการวินิจฉัยทางการแพทย์หรือการรักษา

  4. ลักษณะร่างกาย

    แสงอาจไม่สามารถเข้าสู่เซ็นเซอร์ได้หากข้อมือของคุณมีรอยสัก รอยแผลเป็น หรือมีเส้นขนจํานวนมาก จึงส่งผลให้ตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้ไม่ถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ให้สวมนาฬิกาบนแขนที่ไม่มีรอยสักหรือรอยแผลเป็น

การวัดไม่แม่นยําในระหว่างการออกกําลังกาย

  1. สวมนาฬิกา/สายรัดข้อมือของคุณให้ถูกต้อง

    สําหรับข้อควรระวังในการสวมนาฬิกา โปรดดู ที่นี่

  2. เลือกประเภทการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
    • เลือกการออกกําลังกายประเภทเดียวกับการออกกําลังกายที่คุณออก วิธีคํานวณอัตราการเต้นของหัวใจจะแตกต่างกันไปในการออกกําลังกายแต่ละประเภท และจะแม่นยําที่สุดเมื่อประเภทการออกกําลังกายตรงกับการออกกําลังกายจริงของคุณ
    • การออกกําลังกายที่เกี่ยวข้องกับการงอข้อมือ เช่น การกระโดดเชือก การฝึกความแข็งแรง การวิดพื้น การยกน้ำหนัก และกีฬาที่ใช้ไม้แร็กเกต อาจบีบอัดหลอดเลือด ซึ่งส่งผลต่อความแม่นยําของเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ คุณสามารถสวมนาฬิกาไว้เหนือข้อมือเล็กน้อย หรือใช้สายวัดอัตราการเต้นของหัวใจในระหว่างการออกกําลังกายเหล่านี้
    • คุณสามารถรับการวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่แม่นยํายิ่งขึ้นในระหว่างการออกกําลังกายเป็นประจําได้ (เช่น การวิ่ง การเดิน และการปั่นจักรยาน)

    ข้อมูลที่แสดงอาจเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญหลังจากที่ออกกําลังกายเสร็จแล้ว สาเหตุเป็นเพราะอัตราการเต้นของหัวใจของคุณมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญในสถานการณ์นี้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติและไม่ได้บ่งชี้ว่าอุปกรณ์สวมใส่ของคุณมีปัญหา

  3. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจแบบออปติคัลสะอาด

    เซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจแบบออปติคัลมีความเสี่ยงที่จะมีเศษชิ้นส่วนและวัตถุสะสมอยู่ ดังนั้นจึงอาจไม่สามารถรับแสงสะท้อนได้ ซึ่งส่งผลต่อความถูกต้องของข้อมูล ขอแนะนําให้คุณทําความสะอาดอุปกรณ์สวมใส่หลังการออกกําลังกายแต่ละครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณใช้ครีมกันแดด โลชั่น หรือยาไล่แมลง ใช้น้ำอุ่นและผ้านุ่มเช็ดเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจแบบออปติคัล จากนั้นล้างนาฬิกาเพื่อขจัดสิ่งที่ตกค้าง และปล่อยไว้ให้แห้ง ก่อนที่จะนำมาสวมใส่อีกครั้ง สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทําความสะอาดและการบํารุงรักษา โปรดดูที่ คำแนะนำในการทำความสะอาดและการบำรุงรักษาอุปกรณ์สวมใส่

  4. ฤดูหนาวหรือสถานการณ์ที่มีอุณหภูมิต่ำ

    เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 15°C เส้นเลือดฝอยบนข้อมือจะหดตัวลง ซึ่งอาจทําให้การไหลเวียนของเลือดที่ด้านหลังข้อมือลดลง ลักษณะเช่นนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงแรกของการออกกําลังกายเมื่อการไหลเวียนของเลือดต่ำ ทําให้เซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจรับข้อมูลที่ถูกต้องได้ยาก ขอแนะนําให้คุณวอร์มอัพประมาณ 10 นาทีก่อนเริ่มออกกําลังกาย คุณยังสามารถใช้สายวัดอัตราการเต้นของหัวใจในสถานการณ์นี้เพื่อความแม่นยําสูงสุดหากจําเป็น

  5. รีสตาร์ทนาฬิกาของคุณ

    รีสตาร์ทนาฬิกาของคุณเป็นประจํา และแนะนําให้ทําสัปดาห์ละครั้ง

  6. อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุด

    เวอร์ชันที่ใหม่กว่าจะมีอัลกอริทึมที่ดีกว่า โปรดอัปเดตอุปกรณ์สวมใส่ของคุณและแอป Huawei Health ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดโดยเร็วที่สุด

การวัดไม่แม่นยำเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ทางการแพทย์

โดยทั่วไป อุปกรณ์สวมใส่ของ HUAWEI จะถูกเปรียบเทียบกับมาตรฐานระดับทอง (คลื่นไฟฟ้าหัวใจ) ที่มีช่วงข้อผิดพลาดที่ ±10 bpm หากอัตราการเต้นของหัวใจของคุณต่ำกว่า 37 bpm การตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจของอุปกรณ์สวมใส่จะไม่เป็นประโยชน์ ในกรณีนี้ ขอแนะนำให้คุณใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจของคุณ

  1. หลักการตรวจวัดที่แตกต่างกัน: อุปกรณ์สวมใส่ใช้สัญญาณออปติคัลเพื่อตรวจสอบชีพจร และสัญญาณได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น แสงโดยรอบจากภายนอกและการเคลื่อนไหวเล็กน้อยของแขน ในขณะที่อุปกรณ์ทางการแพทย์ใช้เครื่องตรวจวัดความดันหลอดเลือดแดง (เครื่องวัดความดันโลหิต) และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (มาตรฐานระดับทอง) ในการตรวจวัด ดังนั้น ผลลัพธ์จึงอาจแตกต่างกันไป
  2. ช่วงเวลาการตรวจวัดที่แตกต่างกัน: อุปกรณ์สวมใส่แสดงผลการตรวจวัดแบบเรียลไทม์ ในขณะที่อุปกรณ์ทางการแพทย์ใช้ค่าเฉลี่ยต่อนาที ดังนั้น ผลลัพธ์จึงอาจแตกต่างกันไป คุณสามารถคํานวณค่าอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ยหนึ่งนาทีตามข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์สวมใส่ของคุณ จากนั้นนําไปเปรียบเทียบกับค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่ได้จากอุปกรณ์ทางการแพทย์

หากยังคงมีปัญหาอยู่ ให้นำอุปกรณ์และหลักฐานการซื้อของคุณไปยังศูนย์บริการลูกค้า Huawei ที่อยู่ใกล้เคียงเพื่อขอรับความช่วยเหลือ

เป็นประโยชน์หรือไม่
ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นของคุณ